Preparing for Behavioral Interviews
การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม
(Behavioral Interviews )
เมื่อได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ สิ่งแรกที่ควรคิดเป็นเรื่องแรกก็คือ
เรามีความพร้อมที่จะตอบโจทย์ ความต้องการในตำแหน่งนั้นๆ
หรือไม่อย่างไร เพราะการตอบคำถามในที่สัมภาษณ์ อาจมี
ผู้สัมภาษณ์มากกว่าหนึ่งคน นั่นหมายความว่า เราในฐานะ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ จะต้องรับมือกับคำถามหลากหลายแบบ แต่ทั้งนี้
ทั้งนั้น สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการทวนสอบก็คือคุณสมบัติที่ระบุ
ไว้ในประวัติการทำงาน ซึ่งมีสองประการที่สำคัญคือ
• คุณสมบัติ ที่เป็นความรู้และทักษะหรือความชำนาญเฉพาะตัว ที่
ใช้ในการทำงาน
• คุณสมบัติ ที่เป็นทักษะการเข้าสังคมและความรู้ทันต่ออารมณ์
ซึ่งใช้ในการปฎิสัมพันธ์กับคน
โดยภาพรวมคือ
เก่งทั้งงาน และเก่งทั้งคน
การเก่งงานหรือความชำนาญเฉพาะตัว เช่นถ้าบริษัทต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ด้านไฟฟ้ากำลัง และคุณเป็นวิศวกรไฟฟ้า คุณก็จะตอบโจทย์ข้อนี้
ส่วนเรื่องการเก่งคนและอารมณ์ วัดตรงการตอบคำถามเชิงพฤติกรรมที่ชัดเจนด้วยเนื้อหาและผลงาน หากทำได้ดี คุณก็จะเป็นหนึ่งในผู้สมัครที่มีโอกาสได้งาน
แต่ยังมีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะสรุปในแต่ละตำแหน่งงาน ฉะนั้นการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรมจึงมีความสำคัญ ด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบในงาน ผู้สมัครจึงต้องเตรียมตัวให้มีความพร้อมเสมอ โดยการฝึกฝนและลงมือทำ ความชำนาญก็จะตามมา ส่วนการตอบคำถามจะทำได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนแช่นกัน ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้การตั้งและตอบคำถามโดยการฝึกกับผู้มีประสบการณ์ อาจจะเป็นเพื่อนผู้รู้ หรือที่ปรึกษามืออาชีพ
เรามีความพร้อมที่จะตอบโจทย์ ความต้องการในตำแหน่งนั้นๆ
หรือไม่อย่างไร เพราะการตอบคำถามในที่สัมภาษณ์ อาจมี
ผู้สัมภาษณ์มากกว่าหนึ่งคน นั่นหมายความว่า เราในฐานะ
ผู้ถูกสัมภาษณ์ จะต้องรับมือกับคำถามหลากหลายแบบ แต่ทั้งนี้
ทั้งนั้น สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการทวนสอบก็คือคุณสมบัติที่ระบุ
ไว้ในประวัติการทำงาน ซึ่งมีสองประการที่สำคัญคือ
• คุณสมบัติ ที่เป็นความรู้และทักษะหรือความชำนาญเฉพาะตัว ที่
ใช้ในการทำงาน
• คุณสมบัติ ที่เป็นทักษะการเข้าสังคมและความรู้ทันต่ออารมณ์
ซึ่งใช้ในการปฎิสัมพันธ์กับคน
โดยภาพรวมคือ
เก่งทั้งงาน และเก่งทั้งคน
การเก่งงานหรือความชำนาญเฉพาะตัว เช่นถ้าบริษัทต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ด้านไฟฟ้ากำลัง และคุณเป็นวิศวกรไฟฟ้า คุณก็จะตอบโจทย์ข้อนี้
ส่วนเรื่องการเก่งคนและอารมณ์ วัดตรงการตอบคำถามเชิงพฤติกรรมที่ชัดเจนด้วยเนื้อหาและผลงาน หากทำได้ดี คุณก็จะเป็นหนึ่งในผู้สมัครที่มีโอกาสได้งาน
แต่ยังมีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะสรุปในแต่ละตำแหน่งงาน ฉะนั้นการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรมจึงมีความสำคัญ ด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบในงาน ผู้สมัครจึงต้องเตรียมตัวให้มีความพร้อมเสมอ โดยการฝึกฝนและลงมือทำ ความชำนาญก็จะตามมา ส่วนการตอบคำถามจะทำได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนแช่นกัน ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้การตั้งและตอบคำถามโดยการฝึกกับผู้มีประสบการณ์ อาจจะเป็นเพื่อนผู้รู้ หรือที่ปรึกษามืออาชีพ
การฝึกฝน
มีดยิ่งลับ ยิ่งคมฉันใด ยิ่งฝึกฝนมาก
ก็ยิ่งมีความพร้อมมาก
ฉะนั้นจึงขอให้คำแนะนำดังต่อไปนี้
1. เข้าใจทั้งงานปัจจุบันและงานที่สมัครอย่างลึกซึ้ง
• ศึกษาลักษณะความรับผิดชอบในงานที่สมัคร เพื่อใช้เป็นแนวทางเตรียมข้อมูลของงานที่รับผิดชอบในปัจจุบัน ให้พร้อมต่อการตอบคำถามในระหว่างการสัมภาษณ์
• เตรียมตัวอย่างของงานที่เรารับผิดชอบโดยตรง ที่ท้าทายความสามารถ แต่เราก็ทำจนสำเร็จเป็นผลงานของเรา และสิ่งที่สำคัญก็คือ เราได้ข้อคิดดีๆที่มีประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของเราให้เก่งยิ่งๆขึ้นไป
2. แม่นในข้อมูล
• ผลงานของเรา หากสามารถระบุเป็นตัวเลขได้ก็ควรทำเช่น สามารถสร้างยอดขายให้เติบโตขึ้น 20% เมื่อเปรียบเที่ยบกับปีที่ผ่านมา
3. สั้นและกระชับชัดเจน
• คำตอบที่ดีในการตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์คือ ตอบให้ตรงประเด็น กระชับ เข้าใจง่าย และให้ขยายความเพิ่มเติมหากผู้สัมภาษณ์ขอความกระจ่างในบางประเด็น
4. ให้ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา
• การให้ข้อมูลตามความเป็นจริงคือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพราะสีหน้าและแววตาของเราจะแสดงออกอย่างมั่นใจ
5. แสดงความเป็นมืออาชีพ
• ควรหลีกเลี่ยงและระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลที่อ่อนไหวทุกรูปแบบ โดยเฉพาะข้อมูลทางการตลาด การตอบอย่างมืออาชีพ ย่อมเป็นที่ยอมรับของผู้สัมภาษณ์
• ศึกษาลักษณะความรับผิดชอบในงานที่สมัคร เพื่อใช้เป็นแนวทางเตรียมข้อมูลของงานที่รับผิดชอบในปัจจุบัน ให้พร้อมต่อการตอบคำถามในระหว่างการสัมภาษณ์
• เตรียมตัวอย่างของงานที่เรารับผิดชอบโดยตรง ที่ท้าทายความสามารถ แต่เราก็ทำจนสำเร็จเป็นผลงานของเรา และสิ่งที่สำคัญก็คือ เราได้ข้อคิดดีๆที่มีประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของเราให้เก่งยิ่งๆขึ้นไป
2. แม่นในข้อมูล
• ผลงานของเรา หากสามารถระบุเป็นตัวเลขได้ก็ควรทำเช่น สามารถสร้างยอดขายให้เติบโตขึ้น 20% เมื่อเปรียบเที่ยบกับปีที่ผ่านมา
3. สั้นและกระชับชัดเจน
• คำตอบที่ดีในการตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์คือ ตอบให้ตรงประเด็น กระชับ เข้าใจง่าย และให้ขยายความเพิ่มเติมหากผู้สัมภาษณ์ขอความกระจ่างในบางประเด็น
4. ให้ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา
• การให้ข้อมูลตามความเป็นจริงคือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพราะสีหน้าและแววตาของเราจะแสดงออกอย่างมั่นใจ
5. แสดงความเป็นมืออาชีพ
• ควรหลีกเลี่ยงและระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลที่อ่อนไหวทุกรูปแบบ โดยเฉพาะข้อมูลทางการตลาด การตอบอย่างมืออาชีพ ย่อมเป็นที่ยอมรับของผู้สัมภาษณ์
วิธีการเตรียมตัวอย่างของผลงานในความรับผิดชอบ
ที่สะท้อนความเป็นเราในเชิงพฤติกรรม
ขอแนะนำให้จับประเด็นสำคัญๆด้วย 4 หลักการดังนี้
1. เลือกเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไข
2. บทบาทที่เราต้องทำคืออะไร
3. ได้ดำเนินการอะไรไปบ้างจึงแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
4. ผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไร
2. บทบาทที่เราต้องทำคืออะไร
3. ได้ดำเนินการอะไรไปบ้างจึงแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
4. ผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไร
ตัวอย่างคำถามเชิงพฤติกรรมที่เราต้องพร้อมที่จะตอบ
การตอบคำถามเชิงพฤติกรรมอย่างมืออาชีพ จะต้องใช้ตัวอย่างที่ชัดเจน อธิบายได้อย่างมั่นใจ เพื่อแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เชื่อมั่นว่าหากเลือกเราเข้าร่วมงาน เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
ความรับผิดชอบที่เราระบุไว้ในประวัติการทำงานตั้งแต่งานแรกจนถึงงานปัจจุบัน นับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญ และขึ้นอยู่กับเราที่จะให้รายละเอียดอย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะเนื้อหาคือต้นทางของคำถามเชิงพฤติกรรมที่เราจะถูกถามในระหว่างการสัมภาษณ์ นั่นคือหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่จะต้องเขียนประวัติเพื่อการสมัครงานให้สอดคล้องกับแต่ละตำแหน่งงานที่เราสนใจ เพื่อเพิ่มโอกาสได้สัมภาษณ์งาน และสร้างโอกาสในการตอบคำถามให้ได้ดีและมั่นใจ โอกาสได้งานย่อมตามมา
แน่นอนลักษณะของคำถามจะโยงไปยัง คุณสมบัติทั้งสอง ที่กล่าวแล้ว คือ
• คุณสมบัติ ที่เป็นความรู้และทักษะหรือความชำนาญเฉพาะตัว ที่
ใช้ในการทำงาน
• คุณสมบัติ ที่เป็นทักษะการเข้าสังคมและความรู้ทันต่ออารมณ์
ซึ่งใช้ในการปฎิสัมพันธ์กับคน
แต่คำถามเชิงพฤติกรรมมักจะเน้นหนักไปที่เรื่องทักษะการเข้าสังคมและความรู้ทันต่ออารมณ์ เพราะเป็นการบ่งชี้ถึงแนวโน้มต่อการทำหน้าที่ได้ดีและประสบผลสำเร็จในงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
ความรับผิดชอบที่เราระบุไว้ในประวัติการทำงานตั้งแต่งานแรกจนถึงงานปัจจุบัน นับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญ และขึ้นอยู่กับเราที่จะให้รายละเอียดอย่างไร ดังนั้นเราจึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะเนื้อหาคือต้นทางของคำถามเชิงพฤติกรรมที่เราจะถูกถามในระหว่างการสัมภาษณ์ นั่นคือหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่จะต้องเขียนประวัติเพื่อการสมัครงานให้สอดคล้องกับแต่ละตำแหน่งงานที่เราสนใจ เพื่อเพิ่มโอกาสได้สัมภาษณ์งาน และสร้างโอกาสในการตอบคำถามให้ได้ดีและมั่นใจ โอกาสได้งานย่อมตามมา
แน่นอนลักษณะของคำถามจะโยงไปยัง คุณสมบัติทั้งสอง ที่กล่าวแล้ว คือ
• คุณสมบัติ ที่เป็นความรู้และทักษะหรือความชำนาญเฉพาะตัว ที่
ใช้ในการทำงาน
• คุณสมบัติ ที่เป็นทักษะการเข้าสังคมและความรู้ทันต่ออารมณ์
ซึ่งใช้ในการปฎิสัมพันธ์กับคน
แต่คำถามเชิงพฤติกรรมมักจะเน้นหนักไปที่เรื่องทักษะการเข้าสังคมและความรู้ทันต่ออารมณ์ เพราะเป็นการบ่งชี้ถึงแนวโน้มต่อการทำหน้าที่ได้ดีและประสบผลสำเร็จในงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
ตัวอย่างคำถาม
ถึงเวลาสำคัญที่จะเรียนรู้ โปรดพิจารณา ใช้
“ การฝึกฝนและหลักการ ”
เพิ่อใช้ในการฝึกตอบคำถาม
• คุณมีวิธีคิดเกี่ยวกับการเขียนประวัติการทำงานของคุณอย่างไร
• ช่วยเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณ
• คุณเคยทำงานพลาดหรือไม่ หากมี คุณทำอย่างไร
• ปัญหาที่แก้ไขยากที่สุดที่คุณเคยพบคืออะไร คุณแก้ไขมันได้
อย่างไร และผลลัพธ์เป็นอย่างไร
• คุณชอบที่จะทำงานคนเดียวหรือชอบที่จะทำเป็นทีม
• ช่วยเล่าเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่คุณใช้แก้ไขปัญหาใน
งานที่ผ่านมา
• คุณทำอย่างไร เมื่อคนอื่นมีความเห็นที่ต่างจากคุณ
• คุณมีวิธีที่จะก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายหลักอย่างไร
• หัวหน้าและทีมงานของคุณ คิดว่าคุณเป็นคนอย่างไร
• มีอะไรบ้างที่คุณผิดหวังจากงาน แล้วคุณทำอย่างไร
• เมื่อทีมงานของคุณมีปัญหา คุณจัดการอย่างไร
• คุณมีวิธีการจัดการอย่างไรกับลูกค้าที่ไม่ประทับใจกับการบริการของคุณและทีมงาน
• เมื่อมีงานหลายอย่างประดังเข้ามา คุณมีวิธีจัดการอย่างไร
• ในการสนทนา เคยใหมที่ใจลอย แล้วจับใจความสำคัญไม่ครบ แล้วคุณทำอย่างไร
• คุณเคยบอกหัวหน้า คุณต้องการมีงานมากกว่าที่มีอยู่ ช่วยยกตัวอย่าง
• คุณมีวิธีการรับแรงกดดันจากงานอย่างไร
• เมื่อมีความท้าทายในงาน คุณทำอย่างไร
• การตั้งเป้าหมาย คุณทำอย่างไร
• เมื่อต้องตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของคนอื่น คุณทำ อย่างไร
• คุณมีวิธีการสร้างขวัญกำลังใจให้ทีมงานอย่างไร
• มีคำถามเกี่ยวกับเราหรือไม่
• ช่วยเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณ
• คุณเคยทำงานพลาดหรือไม่ หากมี คุณทำอย่างไร
• ปัญหาที่แก้ไขยากที่สุดที่คุณเคยพบคืออะไร คุณแก้ไขมันได้
อย่างไร และผลลัพธ์เป็นอย่างไร
• คุณชอบที่จะทำงานคนเดียวหรือชอบที่จะทำเป็นทีม
• ช่วยเล่าเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่คุณใช้แก้ไขปัญหาใน
งานที่ผ่านมา
• คุณทำอย่างไร เมื่อคนอื่นมีความเห็นที่ต่างจากคุณ
• คุณมีวิธีที่จะก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายหลักอย่างไร
• หัวหน้าและทีมงานของคุณ คิดว่าคุณเป็นคนอย่างไร
• มีอะไรบ้างที่คุณผิดหวังจากงาน แล้วคุณทำอย่างไร
• เมื่อทีมงานของคุณมีปัญหา คุณจัดการอย่างไร
• คุณมีวิธีการจัดการอย่างไรกับลูกค้าที่ไม่ประทับใจกับการบริการของคุณและทีมงาน
• เมื่อมีงานหลายอย่างประดังเข้ามา คุณมีวิธีจัดการอย่างไร
• ในการสนทนา เคยใหมที่ใจลอย แล้วจับใจความสำคัญไม่ครบ แล้วคุณทำอย่างไร
• คุณเคยบอกหัวหน้า คุณต้องการมีงานมากกว่าที่มีอยู่ ช่วยยกตัวอย่าง
• คุณมีวิธีการรับแรงกดดันจากงานอย่างไร
• เมื่อมีความท้าทายในงาน คุณทำอย่างไร
• การตั้งเป้าหมาย คุณทำอย่างไร
• เมื่อต้องตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของคนอื่น คุณทำ อย่างไร
• คุณมีวิธีการสร้างขวัญกำลังใจให้ทีมงานอย่างไร
• มีคำถามเกี่ยวกับเราหรือไม่